การควบคุมการบริโภคน้ำตาลในคนไทย

บทความ

ปัญหาสุขภาพสำคัญที่ประเทศต่างๆทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คือ การเพิ่มสูงขึ้นของอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases; NCDs) โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมอง เบาหวาน  และมะเร็ง1 ปัญหาโรคในช่องปากนับเป็นปัญหาหนึ่งในกลุ่มโลก NCDs โดยมีปัจจัยกำหนดโรคมีปัจจัยร่วมสำคัญกับโรค NCDs ได้แก่ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพ การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ และมลพิษทางอากาศ2

น้ำตาล เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคฟันผุและทำให้เกิดการสูญเสียฟันในช่วงวัยต่อมา แหล่งหลักของน้ำตาลที่ได้รับจากการบริโภคใน 1 วัน คือ เครื่องดื่ม  พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเครื่องดื่มสำเร็จรูป เช่น น้ำผลไม้กระป๋อง น้ำอัดลม นมเปรี้ยว นมหวานรสต่างๆ  หรือ เครื่องดื่มชง เช่น กาแฟเย็นรสต่างๆ เครื่องดื่มช็อคโกแลต ชานม ได้กลายเป็นวิถีชีวิตประจำวัน ปริมาณน้ำตาลที่อยู่ในเครื่องดื่มเฉลี่ยมากกว่า 10 ช้อนชาขึ้นไป  เครื่องดื่มยอดนิยมของนักศึกษาเช่น นมเย็นขนาด 22 ออนซ์ มีน้ำตาลรวมเฉลี่ย/แก้วสูงถึง 24 ช้อนชา หรือ 96 กรัม (384 กิโลแคลลอรี)3,4 รายงานผลจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลแห่งชาติ ปี 2565 พบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ย 25.4 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่าข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ถึง 4 เท่า โดยเป็นการบริโภคจากเครื่องดื่มสูงสุด คนไทยได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มคิดเป็น 45.9% ของน้ำตาลที่ได้รับจากการบริโภคน้ำตาลทางอ้อมทั้งหมด   ในปี 2015 องค์การอนามัยโลกได้ออกคู่มือ “ Sugars intake for adult and children”5  โดยได้สรุปข้อแนะนำการบริโภค ไว้ ดังนี้

  • WHO recommends a reduced intake of free sugars throughout the life course (strong recommendation.) ( Free sugars include monosaccharides and disaccharides added to foods and beverages by the manufacturer, cook or consumer, and sugars naturally present in honey, syrups, fruit juices and fruit juice concentrates.)
  • In both adults and children, WHO recommends reducing the intake of free sugars to less than 10% of total energy intake (strong recommendation).
  • WHO suggests a further reduction of the intake of free sugars to below 5% of total energy intake (conditional recommendation).

การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอาหารเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้บริโภค มีการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพน้อยลงมาตรการในการจัดการการปัจจัยเสี่ยงที่นำสู่โรค NCDs โดยองค์การอนามัยโลก ได้ระบุ 5 มาตรการ 

(ตาราง 1) ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีการออกมาตรการตามคำแนะนำในเกือบทุกมาตรการ  มาตรการทางการเงินการคลัง เป็นมาตรการที่มีประสิทธิผลสูงสุด ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนให้เกิดมาตรการทางภาษีเป็นมาตรการในภาคพื้นเอเชีย   โดยได้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ตาม พระราชบัญญัติสรรพสามิต ปี พ.ศ. 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อวัน 16 กันยายน 2560  ซึ่งอัตราการเก็บจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำตาล ซึ่งได้มีการใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมที่ 6% ทั้งนี้ประเทศไทยได้แบ่งระยะการจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันได 4 ระยะ ระยะละ 2 ปี โดยระยะที่ 4 นี้จะเริ่ม 1 เมษายน  2568 โดยอัตราเริ่มต้นที่ 1 /ลิตร6 (ภาพที่ 1)

ตารางที่ 1 มาตรการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อ NCDs และ กิจกรรมตัวอย่าง2

WHO recommendation Activities
ควบคุมการจำหน่ายอาหารที่ให้พลังงานสูง (restriction on supply of high caloric foods) -ประกาศ สธ.ที่ 286 เรื่อง นมดัดแปลงสำหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก (/ถภค)
-ประกาศ สพฐ พ.ศ. 2564 ว่าด้วยการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งเสริมสุขภาพในสถานศึกษา
-นโยบาย Healthy Meeting (อาหารว่างพลังงานต่ำ ไม่เกิน 150 Kcal) และประกาศฉลากเรื่อง ซองน้ำตาล
การแสดงข้อมูลบนฉลาก (product labeling) ประกาศ สธ. ที่ 305 : การแสดงฉลากโภชนาการอย่างง่าย พร้อมคำเตือน “บริโภคแต่น้อยและออกกำลังกาย” ประกาศการแสดงสัญลักษณ์ GDA, ฉลากทางเลือกสุขภาพ
ควบคุมโฆษณา (Restriction of advertising) ร่าง พรบ. การตลาดอาหารในโรงเรียน ประกาศ ศธ. เรื่อง มาตรการและแนวทางการสร้างเสริมความรอบรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและการเลือกรับบริการทางทันตกรรม
ใช้มาตรการด้านราคา (Price control) มาตราการภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
ห้ามขาย ณ จุดจ่ายเงิน (restricting supply at point of sale) ยังไม่มีการดำเนินการที่ชัดเจน

ภาพที่ 1 แสดงอัตราเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล 6


เอกสารอ้างอิง

  1. World Health Organization and World Economic Forum. From burden to “best buys”: Reducing the economic impact of non-communicable diseases in low- and middle-income countries. 2011, Available from: https://ncdalliance.org/sites/default/files/resource_files/WHO%20From%20Burden%20to%20Best%20Buys.pdf
  2. Overview of NCD’s and Related Risk Factors. Atlanta, GA: Centers for Disease Control and Prevention (CDC), 2013.
  3. ประไพศรี ศิริจักรวาลและคณะ. การสำรวจและวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีขายบริเวณภายในและรอบๆ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา. เข้าถึง เมื่อวันที่ 7 กพ. 2567: https://www.sweetenough.in.th/images/stories/download/study/gainthailandsugarconsumptionreport.pdf
  4. ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. การสำรวจปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มตามร้านริมยาทวิถี .. 2558 เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน. เข้าถึง เมื่อวันที่ 7 กพ. 2567: https://www.sweetenough.in.th/images/stories/download/study/surveyofsugarcontentinbeverages.pdf
  5. Guideline: Sugars intake for adults and children. Geneva: World Health Organization; 2015.
  6. สนธิกาญจน์ เพื่อนสงคราม.  พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต 2560; บทความใช้เพื่อการนำออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: เข้าถึง เมื่อวันที่ 7 กพ. 2567: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2635


ผู้เขียน/ผู้จัดทำ

ปิยะดา ประเสริฐสม

แบบทดสอบ